ภูมิปัญญาชุมชน
ปูยู
เป็นความรู้ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมประสบการณ์ มายาวนาน และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต
ภูมินาม :
ภูมิปัญญาการใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานภูมินาม (Place name) หมายถึง ชื่อเรียกสถานที่ต่างๆ บ่งบอกลักษณะปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือ วัฒนธรรมของสถานที่นั้นๆ ซึ่งมีความสำคัญในการทำความเข้าใจที่มาของการตั้งชื่อสถานที่ ได้แก่ ชื่อเมือง และ ชื่อหมู่บ้าน เป็นต้น....
เรือนพื้นถิ่น
ภูมิปัญญาการสร้างที่อยู่อาศัยในการสร้างเรือนพื้นถิ่นมุสลิม คติความเชื่อค่อนข้างมีหลากหลาย บ้างก็ว่าทิศทางในการวางตัวเรือนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้หลังคาลาดชันไปในทิศตะวันออก-ตก บ้างก็ว่าการปลูกสร้างเรือนก็ไม่นิยมให้ปลูกสร้างเรือนขวางตะวัน เนื่องจากมีความเชื่อว่า จะทำให้คนในบ้านอยู่อาศัยไม่มีความสุข อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคติความเชื่อเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการสร้างเรือนพื้นถิ่นลดน้อยลง องค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของเรือนไทยมุสลิม ประกอบด้วย....
การต่อเรือ
ภูมิปัญญาช่างพื้นบ้านการต่อเรือ เป็นภูมิปัญญาช่างพื้นบ้านถือกำเนิดขึ้นในบริเวณจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับชายทะเล และมีประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมีการทำประมง จึงทำให้การต่อเรือประมงได้เติบโตขึ้นตามลำดับ การต่อเรือ ซึ่งกว่าจะทำได้สำเร็จในแต่ละขั้นตอนต้องใช้ช่างและลูกมือที่มีประสบการณ์มากเป็นทีมงาน มีการแบ่งภาระหน้าที่ไปตามความถนัดความสามารถของช่างแต่ละคน การออกแบบเรือการต่อเรือประมงส่วนใหญ่ช่างจะใช้ประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาเป็นเครื่องกำหนดกะคำนวณแบบสัดส่วนให้ได้ขนาดรูปทรงเรือที่ต้องการ ....
เครื่องมือประมงพื้นบ้าน
ภูมิปัญญาการประกอบอาชีพเครื่องมือประมงพื้นบ้าน หมายถึง เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ชาวประมงพื้นบ้านคิดขึ้นเอง มีลักษณะเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนหรืออาจจะเป็นเครื่องมือที่ซื้อมาจากตลาดที่นำมาใช้ทำประมงตามชายฝั่ง ไม่นิยมออกจับสัตว์น้ำที่ไกลออกไปจากชายฝั่งทะเลที่เป็นทะเลลึก ดังนั้น รูปแบบ วิธี และการใช้เครื่องมือของชาวประมงพื้นบ้านถูกกำหนดโดยสภาพหรือลักษณะของสัตว์น้ำและชายฝั่งทะเลในแต่ละพื้นที่....
สวนสมรมบนควนบ่อน้ำ
ภูมิปัญญาการปลูกพืช/ผลไม้สวนสมรม เป็นภาษาถิ่นของภาคใต้ คำว่า “สมรม” แปลว่า “รวมผสมผสาน” ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการอย่างหนึ่งเกี่ยวกันการปลูกต้นไม้ สวนสมรม จึงเป็นสวนผลไม้แบบผสมผสาน หมายถึง สวนขนาดเล็ก ที่ปลูกผสมปนเปกันของผลไม้นานาชนิด ไม่มีการแยกแปลงแยกชนิด ไม่ทำลายพืชดั้งเดิมที่มีอยู่ ทำให้พืชได้พึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันเองตามธรรมชาติ นับเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง....
กาหมาด
ภูมิปัญญาการรักษาโรคกาหมาด หรือ ปลิงทะเล (Sea cucumber) เป็นสัตว์ทะเลจำพวกปลา เป็นสัตว์ทะเลไร้กระดูกสันหลังจัดอยู่ใน Phylum Echinoderma จำพวกเดียวกับปลาดาว และหอยเม่นทะเล รูปร่างลักษณะทรงกระบอก ยาวคล้ายถุง ลำตัวอ่อนนุ่มยืดหดตัวได้ มีปากและช่องขับถ่ายอยู่ที่ปลายส่วนหัวและหาง รอบๆ ปากมีหนวด (tentacles) มีลักษณะเป็นช่อสำหรับจับอาหาร....
พืชสมุนไพร
ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านป่าชายเลนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อชุมชน เป็นทั้งแหล่งวัตถุดิบไม้ใช้สอยและก่อสร้างในครัวเรือน เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง ป้องกันการพังทลายของชายฝั่งทะเล นอกจากนั้นพืชในป่าชายเลนยังเป็นแหล่งอาหาร และ พืชสมุนไพร สำหรับผู้คนที่อาศัยในบริเวณใกล้ป่าชายเลนนำมาเป็นอาหาร และใช้เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ และภูมิปัญญานี้ก็สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น จากบรรพบุรุษสู่คนรุ่นหลัง....
กะปิ
ภูมิปัญญาการถนอมอาหารกะปิ (Shrimp paste) ภาษาท้องถิ่นทางใต้เรียกว่า เคย ซึ่งหมายถึง ของเค็มทำด้วยกุ้งกับเกลือโขลกและหมักไว้ ใช้ปรุงอาหาร กะปิ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเคย หรือกุ้ง โดยหมักกับเกลือในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการย่อยสลายและมีรสเค็ม จากนั้นสะเด็ดน้ำแล้วนำมาบดให้แหลกก่อนจะนำไปหมักต่อจนได้เนื้อและรสกะปิ....
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม
ปูยู
จากอิทธิพลของศาสนาอิสลามและความเป็นพื้นที่ชายแดน
มัสยิด :
ศาสนสถานของชุมชนมุสลิมมัสยิด เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่ การละหมาด และการวิงวอน การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หาความสันโดษ นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีนิกะฮ์ หรือพิธีแต่งงาน และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก....
ตาดีกา
การศึกษาศาสนาในวัยเด็กศาสนาอิสลาม กำหนดหน้าที่สำคัญในการอบรมสั่งสอนบุตรหลานหรือผู้อยู่ในปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักการศาสนาให้กับบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง หากบิดามารดา หรือผู้ปกครองไม่มีความรู้ก็ต้องหาผู้ที่มีความรู้มาสอน ซึ่งส่วนใหญ่ในชุมชนมุสลิมจะมี “ตาดีกา” ซึ่งใช้พื้นที่และอาคารในบริเวณมัสยิดเป็นสถานที่เรียนรู้ โดย มีอิหม่ามหรือผู้มีความรู้ในท้องถิ่นทำหน้าที่สอน....
การแต่งกาย
นุ่งห่มตามวิถีมุสลิมการแต่งกายของชาวมุสลิม ไม่ว่าหญิงหรือชาย ถือเป็นหนึ่งในบทบัญญัติที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ยึดปฏิบัติมาพร้อมกับการถือกำเนิดของศาสนาอิสลามหรือกว่า 1,400 ปีมาแล้ว การแต่งกายของมุสลิมตามหลักการในศาสนาอิสลาม มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การปกปิดสิ่งพึงละอายของร่างกาย โดยเฉพาะร่างกายของสตรีมุสลิม ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของเรือนร่างเพศหญิง ดึงดูดความสนใจของบุรุษเพศ อันจะก่อให้เกิด “ฟิตนะห์” (ความเสียหาย ความไม่ดีไม่งามต่อสังคม) ศาสนาอิสลามจึงได้วางหลักเกณฑ์ไว้เพื่อป้องกันฟิตนะห์ที่จะเกิดขึ้น....
ภาษามลายูถิ่น
ความผูกพันกับประเทศเพื่อนบ้านภาษาถิ่น หมายถึง รูปของภาษาที่พูดกันในท้องถิ่นแต่ละถิ่นเป็นไปตามอิทธิพลของภูมิศาสตร์ที่ กําหนดขึ้น เป็นภาษาย่อยของภาษามาตรฐานเดียวกัน ภาษาในแต่ละถิ่นมีลักษณะที่แตกต่าง หรือ ใกล้เคียงกับภาษามาตรฐาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม....
จิบชา-กินโรตี :
วิถีชุมชนมุสลิมชุมชนมุสลิมในจังหวัดสตูล รวมทั้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส และ สี่อำเภอของจังหวัดสงขลาที่มีชุมชนมุสลิม ได้แก่ อำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และ อำเภอนาทวี มีภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ ร้านน้ำชา นอกจากร้านอาหาร ร้านขายของชำ แล้ว ภายในหมู่บ้านจะต้องมีร้านน้ำชา....
นกกรงหัวจุก :
สัตว์เลี้ยงของผู้ชายมุสลิมนกกรงหัวจุกในประเทศไทย เริ่มจากชาวจีนที่เดินทางโดยเรือสำเภา เพื่อเข้ามาค้าขายในประเทศไทยกับประชาชนชาวมุสลิมทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งชาวจีนได้แนะนำวิธีการเลี้ยง อุปนิสัย และความสามารถของนกในเรื่องของ เพลงร้องของนกให้แก่ชาวมุสลิมที่มีพื้นฐานการเลี้ยงนก....
ตูปะ :
อาหารวันฮารีรายอปะ คือ ข้าวเหนียวต้มใบกะพ้อ โดยนำข้าวเหนียวผัดกับน้ำกะทิ เกลือ น้ำตาล ผัดให้น้ำกะทิแห้ง แล้วนำข้าวเหนียวที่ผัดแล้วไปห่อด้วยยอดใบกะพ้อเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วไปต้มจนสุก ภาษามลายูปัตตานี เรียกว่า ตูป๊ะ หรือ ตูปัต ในภาษาอินโดนีเซีย และ มาเลเซีย เรียกว่า เกอตูปัต (Ketupat) ซึ่งเป็นอาหารว่างที่พบในประเทศบูรไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย....
แกงตอแมะห์ :
อาหารพื้นถิ่นคนปูยูส่วนใหญ่เป็นมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม และพูดภาษามาเลย์ท้องถิ่น ที่สามารถสื่อสารกับชาวมาเลเซียได้ โดยเฉพาะรัฐชายแดนนั่นคือรัฐปะลิส เนื่องจากอาณาเขตติดต่อกันนี้ประกอบกับประเพณีและวัฒนธรรมความเป็นมุสลิมคล้ายคลึงกัน ทําให้ประชาชนทั้งสองประเทศมีการติดต่อไปมาหาสู่กัน มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างคนปูยูกับคนรัฐปะลิสกันมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง วัฒนธรรมด้านอาหารก็เป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งที่ชาวปูยูรับมาจากประเทศมาเลเซีย และกลายเป็นอาหารพื้นถิ่นของปูยู คือ แกงตอแมะห์....
View
of Puyu
ปูยู ดินแดนแห่งความเงียบสงบ,
สวรรค์ของคนรักธรรมชาติ.
Blog
Entries
บทความเล่าเรื่องราว ชาวปูยู.
สืบสานวัฒนธรรม.
-
ซากเรือเก่า
25 July 2020ยังไม่มีบทความ.
-
ถ้ำลอดปูยู
16 July 2020ยังไม่มีบทความ.
-
ชุมชนท่องเที่ยวปูยู
10 July 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
30 June 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
24 June 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
12 June 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
26 May 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
22 May 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
8 May 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
26 April 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
24 April 2020ยังไม่มีบทความ.
-
รอบทความ
20 April 2020ยังไม่มีบทความ.
Contact
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นปูยูโดยชุมชนมีส่วนร่วม สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
140 ถนนกาญจณวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0 7431 7639
.
E-mail: jklanarong@gmail.com.