หน่วยวิจัยประชาธิปไตยชุมชนเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ 
Community Democracy Unit for Development (CODE-TSU)
สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สนับสนุนโดย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ
    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
 
 
ข้อมูลทั่วไป
หลักการและเหตุผล
- เป้าหมายของหน่วยวิจัย
แผนการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
- บัณฑิตศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนทุน
- ผลงานตีพิมพ์
- เงินทุนที่ได้รับการสนับสนุน
- นักวิจัยใหม่ที่เข้าร่วมหน่วยวิจัย
- ฐานข้อมูล/website
- ผลงานที่นำไปใช้ประโยชน์
- รูปภาพจากการดำเนินกิจกรรม
 
 
 
แผนการดำเนินงาน ในช่วง 3 ปี
 
3.1แผนงานวิจัย
  กำหนดกรอบประเด็นวิจัยใน 2 ประเด็นหลัก คือ
(1) แผนวิจัยการเปลี่ยนแปลง จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงในมิติเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ส่งผลการเปลี่ยนแปลง การนิยามและให้ความหมายของ “การเมือง” “ประชาธิปไตย” และ “การพัฒนา” ของ “ชุมชนภาคใต้” บริบทและการเคลื่อนเปลี่ยนของชุมชนในความสัมพันธ์ของท้องถิ่นกับโลกที่กว้างออกไป (Cosmopolitan)
(2) แผนสร้างประชาธิปไตยชุมชน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านประชาธิปไตยชุมชนที่สามารถหนุนเสริม สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างประชาธิปไตยระดับชุมชนและการเมืองภาคประชาชนร่วมกับขบวนการทางสังคมอื่นๆ เช่น เครือข่ายประชาชนและประชาสังคมในภาคใต้ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม เป็นต้น
 
3.2 แผนบัณฑิตศึกษา
  เชื่อมโยงกับการผลิตมหาบัณฑิตในสาขาไทยคดีศึกษา และสาขาการบริหารและพัฒนาสังคม (ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งจะเปิดรับนิสิตในปีการศึกษา 2556) ที่สนใจเกี่ยวกับการเมือง ประชาธิปไตย และการพัฒนา และมีการจัดฝึกอบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาแนวทางการวิจัย ศักยภาพนักวิจัยในแนวทางและประเด็นของหน่วยวิจัย
 
3.3 แผนงานเผยแพร่เทคโนโลยีและการพัฒนาเชิงพาณิชย์
  (1) การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านประชาธิปไตยชุมชน จะเน้นการดำเนินงานใน 2 ระดับ คือ  การปฏิบัติในระดับการในระดับชุมชน และการเชื่อมโยงหนุนเสริมขบวนการชุมชนในระดับเครือข่ายที่กว้างขึ้นในภาคใต้และระดับประเทศ โดยร่วมมือกับองค์กรภาคีที่ลงนามความร่วมมือกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น มูลนิธิชุมชนไทย องค์การแอคชั่นเอดประเทศไทย (Action Aid Thailand) และองค์การนิรโทษกรรมสากลประเทศไทย (Amnesty International Thailand) เป็นต้น
  (2) สร้างความเชื่อมโยงกับเครือข่ายนักวิชาการ 7 อนุภาค คือ ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่าง จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอนแก่น บูรพา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์  และทักษิณ โดยจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประชาธิปไตยชุมชน และการสร้างประชาธิปไตยในชนบท 6 เดือน/ ครั้ง ตลอด 2 ปีแรก (2556-2558) (หมายเหตุ หัวหน้าหน่วยวิจัย และนักวิชาการจากหมาวิทยาลัยข้างต้นจะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงและการสร้างประชาธิปไตยในชนบทของประเทศไทย จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี พ.ศ. 2556-2558)
 
3.4 แผนพัฒนาบุคลากร
  ดำเนินการพัฒนาโจทย์วิจัยแบบมีส่วนร่วมที่บุคลากรในโครงการสามารถนำผลงานวิจัยยื่นขอผลงานวิชาการระดับที่สูงขึ้นไป และการสนับสนุนให้บุคลากรนำเสนอผลงานในเวทีวิชาการ การฝึกอบรม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว