ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
วัตถุประสงค์ที่3 ควรตัดคำว่า ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในอนาคต |
ชื่อเรื่องตรงกับประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ชื่อเรื่องสะท้อนวัตถุประสงค์ของการวิจัย เสนอปรับเป็น "การศึกษาสาเหตุของความขัดแย้งและการแก้ไขความขัดแย้งในการทำงานของบุลากรในองค์กร: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดจครศรีธรรมราช" |
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
การตอบวัตถุประสงค์ที่1 มีการตอบเพียง องค์ประกอบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่ไม่พบการตอบวัตถุประสงค์ประเด็นเรื่อง ทุนมนุษย์
ในวัตถุประสงค์ที่ 3 นักวิจัยไม่สามารถตอบวัถุประสงค์การวิจัยได้ ซึ่งในบทคัดย่อ ในวัตถุประสงค์ที่ 3 มีใจความสำคัญแต่เพียงว่า " มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล" ขณะที่วัตถุประสงค์ที่3 ในงานวิจัยนี้ระบุว่า เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาทุนมนุษย์
ข้อสังเกตุในวัตถุประสงค์ที่ 3 คือ 1.แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่ไหน 2.การพัฒนาทุนมนุษย์อยู่ที่ไหน |
1. เสนอให้ระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ชัดเจน ได้แก่
- เพื่อศึกษา (หรือค้นหา) สาเหตุของความขัดแย้งในการทำงานของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เพื่อศึกษา (หรือค้นหา) แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการทำงานของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. บทคัดย่อระบุว่าใช้การศึกษาเอกสารเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เนื้อหา แต่ไม่ระบุว่าเป็นเอกสารชนิดใด (ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งของการทำงานของบุคลากรในองค์กร) และจำนวนเอกสาร ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลในการวิจัย
|
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
ดี |
ความสำคัญของปัญหามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยควรระบุเหตุผลในการเลือก อบต.ท่ายางเป็น case study ของงานวิจัย และควรให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร เช่น จำนวนบุคลากร การแบ่งฝ่ายต่างๆในองค์กร บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เป็นต้น |
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
ขาดการเชื่อมโยงทฤษฏีกับข้อค้นพบ ควรเพิ่มเติม |
1. แนวคิดและทฤษฎี และกรอบแนวคิดมีความสอดคล้องกับหัวข้อวิจัย
2. ควรศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม |
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
ปานกลาง ควรเพิ่มวิธีการศึกษา เช่น วิเคราะห์อย่างไร จากเอกสารไหน วิธีการใด |
ผู้วิจัยยังไม่ได้ระบุกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย รวมทั้งขั้นตอนการศึกษาวิจัย |
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
ต่ำ น่าจะไม่มีผลการศึกษาด้วยซ้ำ ขอให้พิจารณาเพิ่มผลการศึกษา |
ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้่ |
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
แทบไม่มีการอภิปรายผล ขอให้เพิ่มการอภิปลายผล |
ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ |
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
ไม่น่าจะก่อให้เกิดองค์ความรู้อะไร เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาปรากฎในบทความ |
ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ |
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
ดี |
ใช้ภาษาเป็นทางการ ชัดเจน เข้าใจง่าย |
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
ปานกลาง |
1. แหล่งอ้างอิงมีความทันสมัย น่าเชื่อถือ
2. ควรเพิ่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|