ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
ชื่อเรื่องคำว่า New Normal ควรใช้คำภาษาไทยแทน และวงเล็บ New Normal จากการตรวจพบว่า ในบทความมีการใช้คำว่า ชีวิตวิถีใหม่ และความปกติในรูปแบบใหม่ ให้เลือกคำใดคำหนึ่ง จะได้สอดคล้องกันทั้งบทความ วัตถุประสงค์ควรเขียนให้ครบถ้วน จากการตรวจพบว่า มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ 1. ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานในยุค New Normal ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ และ 2) ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของการทำงานภายในองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ในบทคัดย่อเขียนแค่ข้อเดียว |
|
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
บทคัดย่อเขียนวัตถุประสงค์ไม่ครบถ้วน ขาดข้อ 2 ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของการทำงาน และไม่ได้ตอบคำถามของวัตถุประสงค์ข้อ 2 ว่าปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของการทำงานของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นอย่างไร ควรเน้นไปที่องค์กรที่ศึกษาคือ ศาลเยาวชนและครอบครัว มากกว่ากว่าถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาทั่วๆไป |
ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง ประสิทธิภาพการทำงานของศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสงขลาเลย |
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
บทนำควรกล่าวถึงศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลาด้วย ว่าก่อนความเป็นปกติในรูปแบบใหม่ ใช้วิธีพิจารณาคดีอย่างไร และหลังจากการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ศาลเยาวชนและครอบครัวมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการ และวิธีพิจารณาคดีไปอย่างไร มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานหรือไม่ อย่างไร |
-ความสอดคล้องของประเด็นปัญหาไม่ชัดเจน
-ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง ประสิทธิภาพการทำงานของศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสงขลาเลย |
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
ขาดการอธิบายกระบวนการทำงานของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา บทความไม่ได้ตอบวัตถุประสงค์ในการศึกษาข้อที่ 2 ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของการทำงานภายในองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน |
- Literature review : Efficiency in Operations |
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก ควรทบทวนวรรณกรรมและค้นคว้าในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นองค์กรที่ศึกษาเพิ่มเติม |
ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง ศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสงขลาเลย |
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตอบวัตถุประสงค์เพียงข้อเดียว ทำให้เข้าใจการทำงานในยุคความปกติในรูปแบบใหม่ แต่ไม่ได้ตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 แต่อย่างใด |
การนำเสนอไม่ชัดเจน ผู้เขียนมุ่งอธิบายเรื่องวัฒนธรรมองค์กรเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้เขียนสื่อถึงประสิทธิภาพของการปฎิบัติงาน /การทำงานในยุค New Normal |
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
ควรสรุปให้ชัดเจนว่า การทำงานในยุคความปกติในรูปแบบใหม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงาน ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลาอย่างไร ประสิทธิภาพของงานวัดอย่างไร วัดจากปริมาณงาน คุณภาพของงาน เวลา ค่าใช้จ่าย หรือตัวแปรใด แล้วการทำงานในยุคความปกติในรูปแบบใหม่ ประสิทธิภาพของงานเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร ควรนำข้อมูลเชิงสถิติของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลามาวิเคราะห์ประกอบการวัดประสิทธิภาพของงาน เช่น ข้อมูลปี 2561 2562 (ก่อนความปกติในรูปแบบใหม่) เปรียบเทียบกับข้อมูลปี 2563 2564 (ความปกติในรูปแบบใหม่) ต่างกันอย่างไร |
การสรุปและอภิปรายผลยังไม่ชัดเจน |
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
ก่อให้เกิดองค์ความรู้ และความเข้าใจในความปกติในรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่ชัดเจนในการประยุกต์ใช้กับศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา |
|
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
ควรตรวจสอบตัวสะกด คำถูกผิด การใช้ภาษาพูดหรือคำที่มาจากทับศัพท์ภาษาอังกฤษในงานวิชาการ เช่น ช้อปปิ้ง ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น ควรใช้ภาษาวิชาการแทน เช่น ซื้อสินค้า วิถีชีวิต ส่วนคำว่า New Normal ที่ปรากฎอยู่ทั้งบทความให้ใช้ภาษาไทยแทน และวงเล็บคำภาษาอังกฤษไว้ที่จุดแรกเพียงจุดเดียว |
|
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
ข้อมูลมีความทันสมัย |
- ควรจะสืบค้นผลการศึกษา การทำงานในยุค New Normal และประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในองค์กรที่ใกล้เคียงหรือสอดคล้อง กับ Case Studies นี้
-ตรวจสอบวิธีการเขียนบรรณานุกรมให้ครบถ้วน ถูกต้อง |
|