ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
มีความสอดคล้องกัน |
สามารถปรับชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย หรือกรอบแนวคิดการวิจัยมากขึ้น เพื่อความชัดเจน |
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
ควรเพิ่มรายละเอียดในการอธิบายแต่ละตัวแปรในการศึกษา เพื่อความชัดเจนในการศึกษามากขึ้น |
บทคัดย่อภาษาไทย ไม่ต้องวงเล็บคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพราะมี Abstract แล้ว |
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
มีความสอดคล้องกัน |
-ในย่อหน้าที่นำเสนอปัญหาของเทศบาลนครสงขลา ให้สรุปท้ายย่อหน้า ให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร
-ให้เพิ่มเหตุผลสำคัญของ Research Gap ในเชิงองค์ความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ที่นำมาซึ่งการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ |
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
มีการเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย และกรอบแนวคิด กับบทความ แต่ควรค้นคว้างานใหม่ๆที่ทันสมัยเพิ่มเติม |
-การนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะหลัก และ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ในหัวข้อย่อยแรก ให้นำเสนอความหมายในลักษณะการสังเคราะห์ และเพิ่มการนำเสนอแนวคิดที่สำคัญเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการนำเสนอเฉพาะ องค์ประกอบหลักในหัวข้อย่อยถัดไป |
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
ควรระบุวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษาให้ชัดเจนขึ้น ว่ามีกระบวนการ และขั้นตอนอย่างไร |
ขอให้นำเสนอระเบียบวิธีวิจัยในการสังเคราะห์งานวิจัยด้วย |
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ควรใช้ภาษาไทยให้สละสลวย และมีความสม่ำเสมอในการใช้ภาษา ควรเพิ่มข้อมูลเทศบาลนครสงขลาในการศึกษา เช่น อำนาจหน้าที่ของเทศบาล จะทำให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเพิ่มมากขึ้น บุคลากรเทศบาลนครสงขลาคือใคร นำเสนอโครงสร้างของเทศบาลนครสงขลาเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน ในเรื่องอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับงาน สมรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลนครสงขลา มีการกำหนดไว้แล้วหรือไม่ อย่างไร ควรศึกษาจากรายงาน เอกสารต่างๆ ของเทศบาลนครสงขลาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเชิงลึก |
ขอให้นำเสนอเกณฑ์ที่ใช้ในการสังเคราะห์วรรณกรรม ที่นำมาสู่การพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย และประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติมในการสังเคราะห์วรรณกรรม เพื่อเพิ่มความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
บทสรุป ไม่ควรขึ้นต้นด้วยคำเชื่อม (ซึ่ง) ควรเริ่มต้นด้วยประธาน ตามด้วยกริยา และกรรม บทสรุปขาดการกล่าวถึงเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำการศึกษา |
ให้เพิ่มการอภิปรายผลที่เพียงพอ น่าเชื่อถือสมเหตุสมผล |
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
ควรศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ทันสมัย เช่น จากงานอ้างอิงใหม่ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ทางวิชาการ |
ให้เพิ่มการอธิบายเชิงวิชาการให้ชัดเจนและหลักฐานจากการสังเคราะห์งานวิจัยให้มากขึ้นว่า กรอบแนวคิดการวิจัยที่พัฒนาขึ้นก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร |
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
ระมัดระวังการใช้ภาษาพูด เช่น คำว่า พบเจอปัญหา ให้เปลี่ยนเป็น ประสบปัญหา เป็นต้น ระวังการสะกดชื่อนักวิชาการ เช่น ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ แต่ในบทความใช้ว่า ธารงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ฺ เป็นต้น การใช้ภาษาให้สม่ำเสมอ เช่น คำว่า คือ หมายถึง ควรเลือกใช้คำใดคำหนึ่งเท่านั้น หลังจากที่ได้เขียนให้ความหมายของคำโดยนักวิชาการหลายคนแล้ว กล่าวโดยสรุป xxx หมายถึง xxxxxxxxxx ขอให้ใช้ให้เหมือนกัน จากการตรวจพบว่า ยังขาดความสม่ำเสมอในการใช้ภาษาไทย เช่น สำหรับผู้จัดทำแล้ว xxx หมายถึง xxxxxxxxxx สรุปได้ว่า xxx หมายถึง xxxxxxxx จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า xxx |
ดี |
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
ปรับการเขียนบรรณานุกรมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่ได้ใช้ตัวหนาทัั้งหมด และไม่ได้มีการย่อเข้าไป 7 ตัวอักษร |
ขอให้พิจารณาว่า วรรณกรรมหลักที่นำมาเป็นองค์ประกอบหลักของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้แก่ Organ, 1988 (ส่วนในภาพกรอบแนวคิดการวิจัยระบุ ปี ค.ศ. 1987) มีความทันสมัย และน่าเชื่อถือ เพียงพอหรือไม่ ในบริบทการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลยุคปัจจุบัน |
|