ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
เหมาะสม |
|
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
ควรขมวดความสำคัญของงานวิจัยนี้ต่อการเรียนการสอนชาวต่างชาติอีก 2-3 ประโยคเพื่อให้ภาพรวมผลการวิจัยชัดเจนขึ้น ไม่จบแบบห้วนเกินไป |
ในงานวิจัยนี้กล่าวว่าใช้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างคำประสมจำนวนทั้งสิ้น “159 คำ” แต่จากการศึกษาในด้านลักษณะการสร้างคำประสม มีคำประสมที่เป็นคำนาม 117 คำ คำประสมที่เป็นคำกริยา 44 คำ คำประสมที่เป็นคำวิเศษณ์ 1 คำ และคำประสมที่เป็นบุพบท 1 คำ รวมเป็น “163 คำ” ในขณะที่การจำแนกหมวดหมู่คำประสมตามความหมาย มีคำประสมที่เป็นรูปธรรม 100 คำ คำประสมที่เป็นนามธรรม 61 คำ รวมเป็น “161 คำ” ดังนั้นจึงควรอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจนว่ามีคำประสมที่มีลักษณะการสร้างคำมากกว่าลักษณะเดียว และมีคำที่ประสมบางคำที่สามารถเป็นได้ทั้งนามธรรมและรูปธรรม |
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
|
|
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
|
|
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
|
(1) เนื่องจากงานวิจัยนี้มุ่งไปที่การวิเคราะห์จากข้อมูลของคำประสมที่ปรากฏในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติเป็นหลัก ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนจาก “ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ” เป็น “ข้อมูลที่นำมาศึกษา”
(2) จากการที่ผู้วิจัยกล่าวว่าเลือกเก็บข้อมูลจากนหนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติของรัตน์เรขา ฤทธิศร เนื่องจากเคยสอนในรายวิชาสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ 15 ปี ควรระบุให้ชัดเจนว่าระยะเวลา 15 ปีที่กล่าวถึงนั้นผู้วิจัยนับตั้งแต่ปีใดถึงปีใด |
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
|
(1) ในส่วนที่ผู้วิจัยใช้ว่า "สรุปผลการวิจัย" นั้น จริง ๆ แล้วเป็นการนำเสนอ “ผลการวิจัย” หรือ “ผลการวิเคราะห์ข้อมูล" ส่วนนี้ควรเปลี่ยนหัวข้อเป็น "ผลการวิจัย" แล้วจึงค่อยสรุปผลการวิจัยทั้งหมดในภาพรวม ไว้ในตอนท้ายก่อนการอภิปรายผล
(2) อาจพิจารณาเปลี่ยนชื่อหัวข้อในส่วนของผลการวิจัยจาก “1. ผลการวิจัยจำแนกตามการสร้างคำ” เป็น “1. ลักษณะการสร้างคำประสมในหนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ” และ “2. ผลการวิจัยจำแนกตามหมวดหมู่ของคำ” เป็น “2. หมวดหมู่ของคำประสมในหนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ”
(3) เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลดูเข้าใจง่ายและเป็นระบบระเบียบ ในการเรียงคำในตารางแสดงการสร้างคำ หากมีจำนวนคำประสมมากกว่า 1 คำ (ดังปรากฏในตารางที่ 1-7) ควรเรียงให้เป็นระบบเดียวกัน เช่น เรียงตามลำดับตัวอักษรให้เหมือนกันในทุกตาราง เช่นเดียวกับการเรียงคำประสมแต่ละกลุ่มในตารางที่ 13 หากผู้วิจัยเรียงคำประสมแต่ละลักษณะในตารางตามลำดับตัวอักษร ก็ควรเรียงตามลำดับตัวอักษรให้เหมือนกันทั้งหมด
(4) หากคำประสมในหมวดหมู่ “อารมณ์ความรู้สึก” สามารถแบ่งประเภทย่อยเป็นด้านบวกและด้านลบ คำประสมในหมวดหมู่ “บุคลิกภาพ” ก็น่าจะสามารถแบ่งประเภทย่อยเป็นด้านบวกและด้านลบได้ด้วยหรือไม่
(5) เนื่องจากในบทความนี้ไม่ได้มีการอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูลบางส่วนไว้ชัดเจน จึงอาจเกิดคำถามได้ในการจำแนกคำประสมตามความหมายบางคำ เช่น เหตุใด "น้ำเงิน" จึงมีความหมายแสดงบุคลิกภาพ หรือเหตุใด "กลางคืน" จึงมีความหมายแสดงความเจ็บป่วย หากเป็นไปได้ควรอธิบายคำที่อาจมีปัญหาในการตีความหรือทำความเข้าใจให้ชัดเจนด้วย
|
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
เนื่องจากผู้วิจัยยกแนวคิดการสร้างคำประสมของวิจินตน์ ภาณุพงศ์ สุนันท์ อัญชลีนุกูล และ กาญจนา นาคสกุล ดังนั้นควรนำมาอภิปรายด้วยว่าคำประกอบที่พบสอดคล้องกับแนวคิดของนักวิชาการเหล่านี้ด้วยหรือไม่ |
(1) ควรเพิ่ม “สรุปผลการศึกษา” ก่อนการอภิปรายผล
(2) ในส่วนของการสรุปผลการศึกษาควรอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจน(เช่นเดียวกับในส่วนบทคัดย่อที่ได้เขียนไปก่อนหน้านี้)ว่ามีคำประสมที่มีลักษณะการสร้างคำมากกว่าลักษณะเดียว และมีคำที่ประสมบางคำที่สามารถเป็นได้ทั้งนามธรรมและรูปธรรม
|
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
|
|
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
|
ในบทความมีคำที่พิมพ์ตกหล่นและพิมพ์ผิดปรากฏอยู่พอสมควร และการพิมพ์ผิดในบางข้อความทำให้เนื้อความที่ผู้วิจัยต้องการสื่อผิดเพี้ยนไป ผู้วิจัยควรตรวจทานบทความทั้งหมดอีกครั้ง หรือสามารถตรวจสอบได้จากตัวบทความที่ได้ส่งคืนไปและแก้ไขให้ถูกต้อง |
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
|
(1) ควรเพิ่มเอกสารอ้างอิงของเปรมจิต ชนะวงศ์ (2543) ในรายการอ้างอิงท้ายบทความ
(2) ตรวจสอบรูปแบบการเขียนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์และแก้ไขให้ตรงตามรูปแบบที่ถูกต้อง
|
ไฟล์ข้อเสนอแนะ 2
|