ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
- ควรให้ชื่อเรื่องสื่อถึงการบริหารกิจการผู้สูงอายุ
- ตรวจสอบชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ตรงกัน |
- |
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
ชัดเจนดี |
- |
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
- ความสำคัญของปัญหาไม่ได้กล่าวถึงความเป็นมาหรือสภาพปัญหาในการบริหารกิจการผู้สูงอายุ ในย่อหน้าแรกกล่าวถึงเฉพาะประเด็นสังคมผู้สูงอายุ
- ยังไม่เห็นถึงแรงจูงใจในการศึกษาวิจัย
- ผู้วิจัยไม่ได้เขียนสภาพปัญหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดขึ้น |
- |
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
- หัวใจสำคัญของการวิจัย คือ การบริหารกิจการผู้สูงอายุ (ตามวัตถุประสงค์) แต่ผู้วิจัยไม่ได้กล่าวถึงในแนวคิด ทฤษฎี
- ผู้วิจัยควรศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การบริหารกิจการผู้สูงอายุ
- ไม่ควรเขียนข้อความที่คัดลอกให้มีความยาวทั้งย่อหน้ากระดาษโดยคัดลอกมาจากผู้เขียนคนเดียว ควรจะเขียนแนวคิดที่ได้ศึกษามีของนักทฤษฎีและนักวิจัยหลายๆ ท่าน เพื่อให้เห็นว่าผู้วิจัยได้มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างกว้างขวางพอสมควร |
- |
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
- ผู้วิจัยควรขยายความวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
- ควรเพิ่มประเด็นของเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ |
- |
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
- ควรพิจารณาประเด็นการนำเสนอข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนแนวคิด การบริหารกิจการสูงอายุ ในหัวข้อแนวคิด ทฤษฎีฯ ว่า การบริหารกิจการสูงอายุ ประกอบด้วยประเด็นใดบ้าง และนำประเด็นดังกล่าวมาใช้ในการเขียนสรุปผลการวิจัย
- ตามบทความวิจัยพบว่า สรุปผลการวิจัย กล่าวถึง การบริหารกิจการผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 2.1 โครงสร้างและกิจกรรม 2.2 งานและโครงการตามแผนพัฒนาท้องถิ่น 2.3 บทบาทของวัดประเวศน์ภูผา 2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งทำให้ยังมองภาพของการบริหารกิจการผู้สูงอายุ ไม่ชัดเจน |
- |
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
ไม่มีการอ้างอิงข้อมูล |
ควรนำหลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการอภิปรายผล ซึ่งในตัวบทความยังไม่ปรากฎส่วนไหนที่ชี้ให้เห็นว่าจากผลการวิจัย ผู้เขียนได้นำมาอภิปรายผลกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างไร ซึ่งในส่วนของการอภิปรายผล ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่จะสามารถชี้ให้เห็นได้ว่าผลการศึกษามีคุณค่าอย่างไร และได้องค์ความรู้ใหม่ที่ต่อยอดจากงานวิจัยในอดีตอย่างไร ตลอดทั้งการสนับสนุนหรือหักล้าง หรือความแตกต่างของแต่ละบริบท ฯลฯ |
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
- สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
- จากการทบทวนวรรณกรรมไม่ชัดเจน ทำให้การสรุปผลการวิจัยไม่ตอบวัตถุประสงค์ จึงทำให้ข้อเสนอแนะไม่สอดคล้องกับผลการวิจัย |
- |
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
ตรวจสอบการเว้นวรรค และการเชื่อมประโยค |
- |
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
ข้อมูลที่ใช้อ้างอิงเป็นงานวิจัยตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ซึ่งควรหางานวิจัยในปัจจุบันสนับสนุนเพิ่มเติม |
(1) การอ้างอิงควรเขียนให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน เช่น จากการอ้างอิงในบทความพบการเขียนดังนี้ (Cowgill & Holmes, 1972) และ (Hsieh and Shannon, 2005) เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มีการเขียนแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะการเขียนอ้างอิงท้ายข้อความ ควรเขียนตามรูปแบบแรก (2) การอ้างอิงมาจากข้อมูลที่ค่อนข้างล้าสมัย จากเอกสารอ้างอิงจำนวน 5 รายการ พบว่า มีเพียงรายการเดียวเท่านั้นที่มีความทันสมัยของข้อมูล ซึ่งในเรื่องของผู้สูงอายุ มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยกันค่อนข้างมากในปัจจุบัน และ (3) เอกสารอ้างอิงมีค่อนข้างน้อย จากที่ให้ข้อเสนอแนะไป ในประเด็นลำดับที่ 7 น่าจะช่วยเพิ่มแหล่งข้อมูลการอ้างอิง และเพิ่มคุณค่าให้กับบทความนี้ย่ิงขึ้น |
|