ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ |
ชื่อมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ใช้ศึกษา |
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
มีความครอบคุลม |
ชัดเจน |
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
ปัญหาท่ีเขียนแล้ววิจัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เป็นรูปธรรม หัวข้อใช้ตัวลเลขนำบางประเด็นตัดออกไป เพราะบางประเด็นไม่มีหัวข้อนำ |
เนื่องพฤติกรรมการต่อต้านการปฏิบัติงานเป็นพฤติกรรมในเชิงลบที่ส่งผลต่อผลการ)ฏิบัติงานของพนักงงานในองค์การ ซึ่งมีแนวโน้มที่เกิดจากหลายสาเหตุเพราะเหตุใดผู้ฬศึกษาจึงเลือกศึกษาตัวแปรต้นทั้ง 2 ตัวแปรนี้ |
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
ใช้ทฤษฎีเป็นไปตามเรื่องของการวิจัย |
ควรเพิ่มแนวคิดทฤษฎีหลักที่ใช้ในการศึกษา และการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนสมมติฐานการวิจัย นอกจากนี้ควรระบุว่าจะเครื่องมือวัดของใครในการศึกษา |
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
มีขั้นตอนการวิจัย ใช้สถิติ และกลุ่มประชากรชัดเจน |
ควรใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช่สูตรของ Yamane เนื่องจากสูตรนี้ใช้สำหรับการ Survey จะเหมาะสมมากกว่า ควรระบุวิธีการสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา |
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีแต่สรุป ไม่ได้บ่งบอกท่ีมาการวิจัยแต่ล่ะวัตถุประสงค์ เป็นการบรรยายภาพรวม |
เนื่องจากการศึกษานี้ระบุว่ามีการใช้สถิติเบื้องต้น เช่น ร้อยละ ความถี่ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จึงควรนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นด้วย พร้อมทั้งระบุการแปลความหมายของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาเพื่อนำไปอภิปรายผลการศึกษาต่อไป การนำเสนอผลตารางรวมเพียง 2 ตาราง คือ การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัยข้อ 1-2 และตารางการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยน่าจะชัดเจนและเพียงพอ ซึ่งถ้าหากใช้การวิเคราะห์ Multiple Regression ด้วยวิธี Enter จะช่วยทำให้เห็นผลของตัวแปรที่ไม่สาามารถทำนายตัวแปรตามได้ด้วย |
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
ขาดข้อมูล ในบทคัดย่อ มีแต่สรุปผลการวิจัยภาพรวม และดูรูปแบบ ของหน่วยงานผู้จัด ปรับ รูปแบบ |
เนื่องจากสมมติฐานไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ในการอภิปรายผลอาจใช้ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างมาประกอบ เพราะเหตุใดค่า R2 จึงมีค่าน้อยมาก |
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ เป็นรูปรรม นำไปใช้ประโยชน์ได้ |
ควรเพิ่มข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายและการนำผลการวิจัยไปใช้ในอนาคต |
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
มีความชัดเจน สำหรับบรรณานุกรมเห็นควร ตัดจุดดำออก |
ภาษาที่ใช้มีความเข้าใจง่าย |
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
ข้อมูลอ้างอิง มีกลุ่มนักวิชาการ และข้อมูลอ้างอิงตามหลักวิชาการ |
เพิ่มการอ้างอิงและการทบทวนงานวิจัยที่เป็นการศึกษาใหม่ๆ |
|