ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
|
ชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์เป็นหัวข้อที่กว้าง และไม่สามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่เขียนเป็นสิ่งที่ได้รับการยืนยันว่าสอดคล้องกับข้อมูล |
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
- |
ในบทคัดย่อเขียนอย่างมั่นใจว่าเมื่อผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบดังกล่าว จะส่งผลให้สามารถดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินธุรกิจมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวที่หลากหลาย |
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
ดี |
การเขียนในส่วนของบทนำ มีการเกริ่นถึงช่วงเวลาปัจจุบันหลายครั้ง หลายรูปแบบ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสับสนได้ ยังขาดความเป็นเหตุเป็นผลในการเขียน และขาดการเกริ่นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ข้อมูลที่อ้างอิงมีทั้งก่อนเกิดสถานการณ์โควิด - 19 แต่กลับสรุปเป็นเหตุการณ์ช่วยระบาดของโควิด-19 |
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
เพิ่มกรอบแนวคิด |
ขาดการวางโครงร่างในการเขียนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจจะใช้การเรียงตามกรอบเวลาในการเกิดขึ้นของแนวคิดทฤษฎีหรือ การตีพิมพ์ของบทความที่นำมาวิเคราะห์ |
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
|
ยังขาดการแสดงความน่าเชื่อถือของวิธีการและขั้นตอนการศึกษา จนผู้อ่านเชื่อมั่นในผลการวิเคราะห์ว่าปราศจากการตั้งธง หรืออคติ (Bias) |
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
แหล่งอ้างไม่ทันสมัย |
ในการวิเคราะห์ข้อมูลแจ้งว่ามีการนำบทความที่ได้รับการยอมรับ 30 บทความมาวิเคราะห์ จึงควรมีตารางแสดงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบทความดังกล่าว เพื่อผู้อ่านได้ข้อมูลเบื้องต้นของข้อมูลก่อนการวิเคราะห์ แนะนำให้ลองศึกษาเรื่อง Meta Analysis |
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
ไม่มีส่วนการอภิปรายผล |
การสรุปผลการศึกษาไม่ได้อธิบายที่ไปที่มาก่อนการสรุป อยู่ๆ ก็แยกเป็นแต่ละข้อ จึงทำให้ผู้อ่านไม่ทราบว่าเป็นผลที่ได้จากการสรุปจากกี่บทความที่มีความซ้ำกันหรือใกล้เคียงกันในข้อมูลจนได้ข้อสรุปที่ 1 ข้อสรุปที่ 2 |
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
เนื่องจากทบทวนและสังเคราะห์วรรณกรรม
ไม่ได้องค์ความรู้ใหม่ |
ผลการศึกษายังไม่สามารถทำให้ผู้อ่านคล้อยตามได้ว่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยใครในขั้นตอนใด และทำอย่างไร เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นกว้างๆ |
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
|
เรียบเรียบการเขียนใหม่ ให้วางโครงร่างในการเขียน เพื่อทำให้บทความอ่านง่าย ไม่วกวน |
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
แหล่งอ้างอิงไม่ทันสมัย |
เรียงอ้างอิงภาษาไทยตาม ก-ฮ และภาษาอังกฤษ A-Z ตรวจสอบการสะกดคำ อาทิ งานวิจัยของ กานดา ศรอินทร์ /ปณิดา โภชน์สาลี/ปวริศา จันทร์อุดม |
ไฟล์ข้อเสนอแนะ 2
|