ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
การเขียนวัตถุประสงค์ควรจะมีกริยา เช่น เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของพนักงานฝ่ายขาย บริษัท โตโยต้า พิธานพาณิชย์ หาดใหญ่ (สงขลา-สตูล) ที่เขียนมาเป็นสมมติฐานการวิจัย |
|
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
ไม่มีความชัดเจน เช่น ปรับแก้วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 การใช้สถิติถดถอยพหุคูณ เป็นการหาอิทธิพลของตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ไม่ใช่หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และการเขียนผลการวิจัยจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย |
|
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
บทนำ ย่อหน้าที่ 2 ควรเขียนให้มุ่งเน้นไปที่พนักงานขายเป็นหลักว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจอย่างไร เพื่อจะได้เชื่อมโยงกับย่อหน้าที่ 3 ที่ผู้วิจัยตัดสินใจทำวิจัยเรื่องดังกล่าว |
|
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
ไม่พบการเชื่อมโยงกันของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและกรอบแนวคิดในการวิจัย |
|
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
เครื่องมือ (แบบสอบถาม) ไม่ชัดเจน ข้อคำถามแต่ละส่วนเป็นแบบใดบ้าง การใช้สถิติยังคลุมเครือ เช่น ใช้ค่าความถี่และร้อยละในการวิเคราะหปัจจัยที่่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง |
|
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
ผลการวิจัยควรนำเสนอในรูปตาราง จะมีความชัดเจนกว่า และผลการทดสอบสมมติฐานไม่สอดคล้องกับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล |
ดูรายละเอียดจากไฟล์แนบ |
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
ขาดความน่าเชื่อถือเพราะงานที่นำมาสนับสนุนไม่ได้ระบุปี พ.ศ. และรูปแบบการเขียนเข้าใจยากมาก |
|
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
ไม่มี |
|
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
เข้าใจยากมาก |
|
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
|
ดูรายละเอียดจากไฟล์แนบ |
ไฟล์ข้อเสนอแนะ 1
ไฟล์ข้อเสนอแนะ 2
|