ข้อมูลการลงทะเบียน
 
ชื่อบทความภาษาไทย
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ
อัพโหลดบทคัดย่อ ตรวจสอบ
  ตรวจสอบ
บทความฉบับเต็ม
อัพโหลดบทความฉบับเต็ม ตรวจสอบ
  ตรวจสอบ
อัพโหลดบทความฉบับสมบูรณ์ ตรวจสอบ
  ตรวจสอบ
อัพโหลดผลการปรับแก้บทความตามคำแนะนำของผู้ทรง(ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม) ตรวจสอบ
เอกสารตอบรับการเข้าร่วมประชุม ดาวน์โหลดเอกสารตอบรับการประชุม
ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ    
ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์
ชื่อเรื่องน่าสนใจ
การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ควรเขียนในลักษณะที่บอกอย่างชัดเจนว่าเราต้องการจะศึกษาอะไรในการวิจัยครั้งนี้ แต่จากวัตถุประสงค์ในบทความที่เขียนมาผู้เขียน เขียนในลักษณะของการตั้งสมมติฐานการวิจัยเสียมากกว่า ดังนั้นจึงควรปรับแก้การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยดังที่ได้เสนอแนะ เพื่อให้บทความนี้มีความถูกต้องในลักษณะของงานเชิงวิชาการได้ยิ่งขึ้น และวัตถุประสงค์ในเนื้อหาควรสอดคล้องตรงกันกับวัตถุประสงค์ที่เขียนในบทคัดย่อ
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ
บทคัดย่อไม่ได้ระบุวิธีดำเนินการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เคื่องมือที่ใช้ และ สถิติ
(1) ควรตรวจทานคำผิดคำถูกให้รอบคอบ (2) โปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หากถูกต้องตามลิขสิทธิ์สามารถระบุได้ แต่หากไม่ได้ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ควรหลีกเลี่ยงในการระบุชื่อโปรแกรม (3) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ควรใช้คำว่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (4) และโดยปกติในบทคัดย่อจะไม่ใส่วงเล็บภาษาอังกฤษ เนื่องจาก จะปรากฏใน Abstract อยู่แล้ว (5) ตรวจสอบวัตถุประสงค์ที่ 1 และวัตถุประสงค์ที่ 2 ว่ามีความซ้ำซ้อนกันหรือไม่ และแตกต่างกันอย่างไร
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา
ไม่ได้สรุปทฤษฎีที่ใช้ ตามทฤษฎีใด หรือประยุกต์มาอย่างไร
ควรเพิ่มเติมการอ้างอิงในเนื้อหาในการเขียนบทนำเพื่อเพ่ิมความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่นำมาเขียนกล่าวอ้างถึง
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ
เช่นเดียวกับข้อ 3
(1) ไม่ปรากฎกรอบแนวคิดในบทความนี้ จึงไม่สามารถพิจารณาได้ว่า กรอบแนวคิดนั้นมีการเชื่อมโยงกันหรือไม่ระหว่างแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) ไม่ปรากฎการอ้างอิงถึงแนวคิด และทฤษฎีที่กล่าวถึงในบทความ ในการเขียนบทความเชิงวิชาการ การอ้างอิงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความตระหนัก เนื่องจากเป็นหนึ่งในจรรยาบรรณของนักวิจัย (3) ไม่ปรากฎงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทความ
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา
ไม่ได้ระบุวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ คืออะไร และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร
ควรเพิ่มเติมให้เห็นถึงข้อมูลของการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ไม่ได้นำเสนอข้อมูลจากการรวบรวมของกลุ่มตัวอย่าง มีแต่ข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร
ตรวจสอบคำถูกคำผิดให้รอบคอบ เช่น "ตัวแปร ไม่ใช่ ตัวแปล" เป็นต้น
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล
ไม่มีข้อมูล
(1) ตรวจสอบคำถูกคำผิดให้รอบคอบ เช่น "ตัวแปร ไม่ใช่ ตัวแปล" เป็นต้น (2) การนำผลการวิจัยของนักวิชาการท่านอื่นมาอภิปราย ควรทบทวนการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาให้ถูกต้อง เช่น หากเป็นการอ้างอิงหน้าข้อความ ยงยุทธ เกษสาคร (ปี พ.ศ. ของงานวิจัยที่นำมาอ้างอิง) และหากเป็นการอ้างอิงท้ายข้อความ (ยงยุทธ เกษสาคร, ปี พ.ศ. ของงานวิจัยที่นำมาอ้างอิง)
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูล
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ
ในประเด็นนี้ขอให้ข้อเสนอแนะดังนี้ (1) ทุกรายการของเอกสารอ้างอิง ควรจะต้องมาจากการอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้น (2) การเขียนเอกสารอ้างอิง ควรจะต้องเป็นไปตามรูปแบบที่งานประชุมวิชาการกำหนด ว่าให้ใช้รูปแบบใดในการเขียน (3) และเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว เห็นว่าการเขียนเอกสารอ้างอิงยังไม่มีความถูกต้องเท่าที่ควร
ไฟล์ข้อเสนอแนะ 2