ความสอดคล้องเหมาะสมของชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ |
|
ผลการศึกษากับชื่อเรื่องอาจดูไม่ได้มีจุดนำเสนอที่สอดคล้องและให้นำ้หนักแบบเดียวกัน โดยชื่อเรื่องผู้อ่านน่าจะคาดหวังผลการศึกษาที่ให้นำหนักกับเรื่องความแตกต่างของ Generations แต่ผลนำเสนอโดยแสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลมากกว่า |
ความครอบคลุมและความชัดเจนของบทคัดย่อ |
|
การแสดงผลวิจัยไม่ชัดเจนว่าในการศึกษานำคำตอบมาอย่างไร (เช่นการแสดงผลของ F-Test แล้วนำมาสรุป)
ภาษาอังกฤษควรปรับภาษาให้เหมาะสม |
ความสอดคล้องของประเด็นปัญหา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ศึกษา |
เพิ่มข้อมูลคุณภาพหลักสูตร MBA ว่าเดิมอยู่ในระดับใด (ผลประเมินปีที่ผ่านมา) เพื่อความชัดเจน |
ในการเกริ่นนำอาจเลือกเกริ่นในช่วงอายุที่เชื่อมโยงกับการทำงาน (เช่น 0-14 ปีอาจไม่อยู่ในวัยทำงานอาจตัดออกเพื่อเน้นไปที่ Generation ที่ทำงานในปัจจุบัน |
การเชื่อมโยงของแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และกรอบแนวคิด กับบทความ |
กรอบแนวคิด
องค์ประกอบของตัวแปรตาม มาจากแนวคิดของใครให้ผู้วิจัยเขียนกำกับด้วย |
ในงานวิจัยนี้มีความไม่นิ่งในเรื่องปีที่เกิดกับ Generation อาจเป็นเพราะอ้างจากหลายแหล่งและพิสูจน์อักษรผิด ควรตรวจสอบอีกครั้งและให้ยึดปี พ.ศ.ที่นำมาวิจัยกับ Generations ด้วย
นอกจากนี้ในส่วนแนวคิดทฤษฎีด้านแรงจูงใจ ได้ยกทฤษฎีของ Maslow มาแต่กรอบแนวคิดกลับไปใช้ของ Herzberg
นอกจากนี้ เรื่องการติดต่อสื่อสารที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเป็นทีมถูกดึงให้มาเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่งนั้นผู้วิจัยควรแสดงความชัดเจนในส่วนนี้ด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนหรือความสัมพันธ์ของตัวแปรที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย |
ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา และขั้นตอนการศึกษา |
|
|
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
|
การวิเคราะห์ข้อมูลควรแสดงถึงการอธิบายปัจจัยพื้นฐานของตัวแปรที่มีความสำคัญและสอดคล้องกับชื่อเรื่อง เช่น กลุ่มตัวอย่างมี Generation ใด กี่คน หรือร้อยละเท่าไหร่
ในบางตอนของการวิเคราะห์อ่านแล้วไม่เข้าใจว่ามีการศึกษาในประเด็นใดอย่างไร และกำลังสื่อข้อมูลอย่างใด เช่น ด้านการสื่อสารในการทำงาน ที่มีการแสดงค่าเฉลี่ยดังกล่าวนั้นหมายถึงข้อมูลนั้นแสดงอะไร ระหว่างประสิทธิภาพการสื่อสาร หรือ ปัญหาของการสื่อสาร หรือ วิธีการ ฯลฯ
ในการแสดงผลการวิเคราะห์ ปัจจัยส่วนบุคคลที่สำคัญคือ Generation ไม่ได้มีการนำมาศึกษาจริงจังแต่กลับแสดงผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ เช่น ระดับการศึกษา หรือประสบการณ์ ในการทำงานหรือ เงินเดือนมากกว่า แต่ในส่วนที่เปรียบเทียบระหว่าง Generation ที่ควรแสดงให้ขัดเจนกลับคลุมเครือ |
การใช้ข้อมูลสนับสนุนน่าเชื่อถือสมเหตุสมผล ในการสรุปและอภิปรายผล |
|
การอภิปรายผลที่บอกว่าส่วนใหญ่อยู่ใน Gen Y และ X นั้นแต่เมื่อดูว่าประชากรส่วนใหญ่อายุ 19-22 ปี ถ้าเทียบกับปีปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ใน Generation ( หรือไม่เพราะเริ่มกับผู้เกิดในปี 2540 นับจนถึงปัจจุบันกลุ่มนี้จะอายุ 24-25 ปีแล้ว) จึงย้อนกลับไปที่การจับช่วงปีในการกำหนด Generation คืออย่างไร |
ผลการศึกษาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ |
|
ถ้ามีการศึกษาที่ถูกต้อง งานนี้จะมีความน่าสนใจ |
ความชัดเจนและความเหมาะสมของการใช้ภาษา ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นทางการ |
|
|
ข้อมูลการอ้างอิง ทันสมัย น่าเชื่อถือ |
|
|
|